KHAOLAK INFORMATION. AND EVERYTHING YOU NEED TO KNOW ABOUT KHAOLAK.
How to get to KHAO LAK, Map and Timetable (Boat&Bus).
Travel all around KHAOLAK.
Beaches and Bays on KHAOLAK.
Attraction and Sightseeing in KHAO LAK.
Nightlife in KHA OLAK.
Shopping KHAO LAK.
Restaurants on KHAO LAK.
Thing to do and Top Ten in KHAO LAK.
Gallery 300 pictures in KHAO LAK
For All detail about KHAO LAK Click HerE
Khao Lak Beach is on the Andaman Sea just 80 Kilometers North from Phuket International Airport. It locates on Km 56-57 heading to Takuapa town.
There are many beaches all the way from Phuket to Takuapa such as Thai Muang Beach, Bangnieng Beach, Khaolak Beach and Bangsak Beach. But Khaolak beach is the most popular beach for many tourists because the beach is clean and long with golden sand where most of the resorts are located.
Khaolak Beach is well known for tourists who love to stay in a remotely area because the beach is very quiet and no bars or entertainment close to the beach.
Tourists can also get to Similan and Surin Islands by chartered boats leave from Thap Lamu Pier in Thai Muang District (30 minutes from Khaolak beach) and take about 3 hours to reach the islands.
Getting There
By Air from Bangkok : A flight into Phuket International Airport, followed by a road trip of a further 80 kms to Takuapa town. Most hotels and resorts there have an airport transfer service.
By Bus from Bangkok : take a bus from the Southern Bus Terminal to Takuapa heading Phuket but don't forget to tell the bus to get off at Khaolak which is on Km 56-57 heading to Phuket.
By Car from Phuket : use route 402, pass the parallel spans of Sarasin and Thao Thepkrasatri Bridges. You are now in Phangnga province and heading to Koak Kloy town and Thai Muang and then Takuapa. Khaolak beach is on Km 56-57 heading to Takuapa town.
By Car from Takuapa : Heading South to Phuket town about 50 kms from Takuapa to get to Khaolak Beach.
อำเภอเขาหลัก จังหวัดพังงา, ประเทศไทย
Khao Lak - Phangnga Province,
แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากรพังงา คือ จังหวัดที่เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งบนบกและใต้น้ำ โดยเฉพาะกลุ่มเกาะสวยงามที่วางตัวเรียงรายอยู่ในทะเลอันดามัน จนพังงาได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งป่าเกาะ รวมทั้งยังมีผืนป่าชายเลนหนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยพังงาเต็มไปด้วยวิถีชีวิตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องราวของผู้คนหลากเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน มุสลิม และชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเก่าแก่ที่น่าสนใจ เช่น เกาะปันหยี เกาะยาว หมู่บ้านชาวมอแกนในบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ ชุมชนชาวเหมืองแร่ที่ตะกั่วป่า ฯลฯนอกจากนั้น พังงายังเต็มไปด้วยแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น โลกใต้น้ำของหมู่เกาะสิมิลัน ดงปะการังหลากหลายและฝูงปลาน้อยใหญ่ใต้ทะเลหมู่เกาะสุรินทร์ เขาตาปู เขาพิงกัน เกาะพระทอง ฯลฯทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทรัพยากรล้ำค่าที่ทำให้พังงาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเสมอมาจังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ คือ ฝั่งตะวันตกติดทะเลอันดามัน ส่วนบนบกนั้นส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา พื้นที่ป่าเป็นป่าดงดิบ สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายและสวยงามนี้เองที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มเกาะ เช่น หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทอื่น คือ หาดทรายชายทะเล ป่าดิบ ป่าชายเลน น้ำตก และโถงถ้ำพังงาเริ่มต้นความเป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่ขุดค้นพบมีทั้งเครื่องมือหิน ภาพเขียนสีในถ้ำ อาวุธที่ทำจากกระดูกสัตว์ ภาชนะดินเผา ฯลฯ หลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่สนับสนุนว่าพังงาเป็นเมืองเก่าแก่ คือเครื่องปั้นดินเผาและกำไลหิน อายุ 3,000-4,000 ปี ที่พบในถ้ำสุวรรณคูหาในสมัยประวัติศาสตร์ พบหลักฐานว่า ชาวกลิงคราฐหลบหนีการโจมตีของพระเจ้าอโศกมหาราชอยู่ในบริเวณริมทะเลแถวเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และถลาง ครั้นถึง พ.ศ. 300 ชาวอินเดียที่หนีมาได้นำศิลปวัฒนธรรมมาด้วย โดยมีการพบรูปสลักหินพระลักษมณ์ พระราม และนางสีดา ในบริเวณเมืองเก่าของตะกั่วป่า และในหนังสือมิลินทปัญหา ชาวอินเดียเรียกตะกั่วป่าว่าตะโกลา หรือตกโกล ซึ่งแปลว่าลูกกระวาน ปัจจุบันนี้คนเฒ่าคนแก่ก็ยังเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองตะโกลาล่วงมาจนถึงสมัยอยุธยา พังงามีฐานะเป็นเมืองแขวง ขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 พม่ามาตีเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และถลาง จึงมีการย้ายผู้คนมาอยู่ที่ตำบลกราภูงา ซึ่งอยู่ตรงปากน้ำพังงา และตั้งชื่อเมืองว่าภูงา ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาคำว่าภูงาเพี้ยนเป็นพังงาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพังงา ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ กระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับเมืองพังงา หลังจากนั้น พังงาก็ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 6 ทว่าช่วงที่เมืองรุ่งเรืองอย่างที่สุดนั้นอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะกิจการเหมืองแร่ดีบุกในพังงาเจริญก้าวหน้ามากหลังจากหมดยุคเหมืองแร่ พังงาก็กลับสู่ความเงียบสงบ กระทั่งกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์เลือกอ่าวพังงาเป็นฉากถ่ายทำเมื่อปี พ.ศ. 2517 ความงดงามของภูมิประเทศจึงถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก จากวันนั้นเอง พังงาก็เติบโตขึ้นในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงามจังหวัดพังงาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพังงา อำเภอกะปง อำเภอเกาะยาว อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอทับปุด และอำเภอท้ายเหมืองทิปส์ท่องเที่ยว
สำหรับคนที่ชอบเดินชมเมืองเก่า ต้องไม่พลาดการเดินเที่ยวชมเมืองตะกั่วป่าในย่านตลาดใหญ่ เที่ยวที่นี่เหมือนได้ย้อนยุคไปสู่ช่วงเหมืองแร่เฟื่องฟูเลยทีเดียว
อย่าลืมไปจับจ่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือแบบซาโอริ สีสันสดใส รูปแบบน่ารัก ที่บ้านบางม่วง นอกจากได้ของน่าใช้ ยังได้บุญ เพราะรายได้จะนำไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยสึนามิ
หลากหลายจุดดำน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์คือสวรรค์ของนักดำน้ำ เพราะสวยติดอันดับโลกเลยทีเดียว ไปถึงพังงาแล้วไม่ควรพลาด
พายคายัคเที่ยวอ่าวพังงา ชมผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ และพายลอดถ้ำลอด ชมความงามของภูมิประเทศแบบป่าเกาะ อย่าลืมเตรียมกระเป๋ากันน้ำหรือถุงกันน้ำไปด้วย
Thailand Attractions in Khao Lak
Thai Mueang
is a fair sized town and varying levels of accommodation are available.
Koh Kho Khao
lies off the coast of Takuapa to the North of Khaolak. Koh Kor Kao Island's western coast has endless beaches lined by Casuarina trees while the interior is covered by grassland. Several wild animals dwell Kho Koh Khao Island, and sea turtles use to lay their eggs in its sands, between November and February. Those, interested in this fascinating event will have the possibility to observe turtles in their natural environment.
Khao Lampi - Hat Thai Mueang National Park
The park occupies an area of 45,000 rais (18,000 acres). It was declared a national park on April 14, 1988.
Interesting attractions in the park include:
- Lampi Waterfall (Nam Tok Lampi)
located at Mu 6, Tambon Thai Mueang, on Phetkasem Road (Highway No.4), between kilometre markers 32 and 33, and taking an unpaved access road for another 1.5 kilometres. It is a 6-tiered waterfall that runs all year round.
- Ton Phrai Waterfall (Nam Tok Ton Phrai)
is a large waterfall with water flowing year round. At km. 28-29 of Petch Kasem Rd. is a gravel side road intersection. Turn left and go for 7 kms; park your vehicle. Then continue on foot another kilometer. The hike to the falls is most enjoyable during dry season. Hat Thai Mueang
Hat Thai Mueang
located in the Thai Mueang Sanitary area. Going into the area, take the right-hand road for about 1.5 kilometres, then drive another 5 kilometres on the beach road to the National Park office. The 13-kilometre long beach has fine white sand and runs along the Highway. The area is blessed with crystal clear water. The recommended time to visit is between November and February. Sea turtles come to lay their eggs on the shore, thus creating a tradition of walking on the beach to watch turtles lay their eggs on a moonlit night. When the eggs hatch, you can join in releasing them into the sea during the Sea Turtle Festival in March each year.
Ban Bor Dan Hot Springs
The waters here are heavy with sodium, calcium, iodine chloride and other minerals good for relief of arthritis, beriberi, mental and physical stress they even make skin fresher and hair healthier. Open for bathing and soaking daily; the service costs just 10 baht. Located in Tambon Na Toey on the Andaman Coast : from Phuket go north through the Koke Kloy intersection in Phang-nga Province (do not turn right at the intersection) and proceed to approximately kilometer stone 6. Look for a road running beside Ban Bor Dan School, and proceed down it for about 3 kms.
Conservation Center of the Princess Chulabhorn Undersea Park Project created to spread knowledge of the undersea environment and its resources. The two-storey building has rooms displaying the work of the Chulaborn Research Institute's royal chairman, a meeting room, a dining room, a performance sala, and an exhibition hall. The exhibition hall has 4 rooms detailing the Chulabhorn Projects origins, the importance of undersea resources and environment, new ideas in undersea eco-tourism, and an exhibit of artworks focusing on undersea world themes. The featured exhibit of artworks focusing on undersea world themes. The featured exhibition in the large hall is entitled Progress in Tourism Through Circulation of Information and Knowledge. Located at Tap Lamu Naval Base.
Royal Navy's Third Fleet Sea Turtle Nursery
is at the naval base at Tap Lamu. Infant turtles from various areas on the Andaman seaboard are brought here, nursed along until strong enough to fend for themselves, then released into the sea. It is the country's most important such nursery on the Andaman coast.
สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเขาหลัก
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
อำเภอท้ายเหมือง (Thai Mueang)
เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวโรงแรมที่พัก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันและสถานที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น
● เกาะคอเขา (Koh Kho Khao)
อยู่นอกชายฝั่งของอำเภอตะกั่วป่าไปทางทิศเหนือของเขาหลัก เกาะคอเขาอยู่ชายฝั่งตะวันตกอยู่ตรงปลายสุดของหาด เรียงรายไปด้วยต้นสนและหญ้าตลอดแนวชายหาดสร้างความรื่มรื่นให้กับชายหาด มีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะคอเขาและในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธุ์ มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย เป็นประสบการร์ที่น่าสนใจที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาสังเกตุเต่าวางไข่ ควรติดต่อที่ทำการอุทยานก่อนไม่ควรเดินทางมาสำรวจเพียงลำพัง
● อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง (Khao Lampi - Hat Thai Muang National Park)
อุทยานครอบคลุมพื้นที่ 45,00 ไร่ (18,000 เอเคอร์) โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 52 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2529
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอุทยานแหงชาติได้แก่:
● น้ำตกเขาลำปี (Nam Tok Lampi)
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลท้ายเหมือง ริมถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ระหว่างกิโลเมตรที่ 32 และ 33 เป็นถนนลูกรังเข้าไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง 6 ชั้น มีกระแสน้ำไหลตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูฝน ประชาชนทั้งในและต่างจังหวัดนิยมเดินทางมาเพื่อพักผ่อน
● น้ำตกโตนไพร (Nam Tok Ton Phrai)
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 28-29 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตรถึงบริเวณลานจอดรถของอุทยาน เดินตามทางเท้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ควรเดินทางไปเที่ยวน้ำตกในฤดูแล้งเพราะจะสะดวกในการเดินทางกว่าฤดูฝน
หาดท้ายเหมือง
● หาดท้ายเหมือง (Hat Thai Muang )
ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสถานีอนามัยท้ายเหมือง เมื่อถึงสถานีอนามัยให้เลี้ยวขวาไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร จากนั้นขับรถต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งสำนักงานอุทยานแห่งชาติ ชายหาดแห่งนี้มีความยาว 13 กิโลเมตร ทรายขาวละเอียด น้ำใสสวยงาม สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาเที่ยวแนะนำให้เดินทางมาช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนและกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณหาดท้ายเหมืองจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่มากมาย ทางอำเภอท้ายเหมืองจึงจัดให้มีงานประเพณีอนุรักษ์เต่าทะเล โดยกำหนดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมทำกิจกรรมได้แก่ การปล่อยเต่าทะเล งานเทศกาลจัดขึ้นในเดือนมีนาคมของทุกปี
● น้ำพุร้อนบ้านบ่อดาน (Ban Bor Dan Hot Springs)
เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีส่วนผสมของโซเดียม แคลเซียม ไอโอดีนและคลอรีนในปริมาณที่มากเป็นผลให้เกิดเป็นน้ำแร่ธรรมชาติ น้ำพุร้อนบ้านบ่อดานเป็นที่ของเอกชน รอบบริเวณจัดเป็นสวนสวยงามร่มรื่น มีน้ำแร่อุ่นๆ ไหลวนเวียนอยู่ในสระเหมาะสำหรับการแช่เพื่อการพักผ่อนคลายความเครียด บรรเทาอาการปวดข้อ กระดูก เหน็บชา ตลอดจนบำรุงผิวพรรณและเส้นผม เปิดให้บริการทุกวัน ค่าใช้บริการอาบน้ำแร่ 10 บาท น้ำพุร้อนตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อดาน ห่างจากตัวเมืองพังงา 43 กิโลเมตร ตามเส้นทางพังงา-โคกกลอย เมื่อถึงสี่แยกโคกกลอย ขับตรงไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะเห็นป้ายบ่อน้ำพุร้อนให้เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร
ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ เป็นโครงการที่ตั้งเพื่อกระจายความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดแบ่งออกเป็นส่วนที่ประทับและห้องทรงงานขององค์ประธาน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ห้องอาหาร ห้องประชุม ศาลาการแสดงและห้องแสดงนิทรรศการซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งเป็น 4 ห้อง ห้องที่ 1 แสดงจุดกำเนิดของโครงการ ห้องที่ 2 แสดงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ห้องที่ 3 แสดงมิติใหม่ของการท่องทะเลไทยเชิงอนุรักษ์ ห้องที่ 4 แสดงจินตนาภาพของโลกใต้ท้องทะเล ส่วนที่ 2 เป็นห้องนิทรรศการ "แหล่งความรู้ ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่หมุนเวียนถ่ายทอดเรื่องราวเชิงสร้างสรรค์ ตั้งอยู่ที่ฐานทัพเรือทับละมุ
● ศูนย์อุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ (Royal Navy's Third Fleet Sea Turtle Nursery)
ตั้งอยู่ที่ฐานทัพเรือทับละมุ เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ เป็นแหล่งให้ความรู้ทางด้านชีววิทยา เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเต่าทะเลตามบนชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งอนุบาลลูกเต่าทะเล เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ